วิชา ธรรม ๑

คาบที่ ๘ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : สมาธิ

ใจความพุทธธรรม บทที่                    
:  16

จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง      
:  5  สื่อ/กิจกรรม

ตัวอย่างเนื้อหา              
: การปฏิบัติธรรม คือทำอะไร
 ?
: สติ สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร
 ?
: สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
 การปฏิบัติ ต้องเริ่มต้นอย่างไร ?
: วิธีการเลือกกรรมฐานที่เหมาะ ทำอย่างไร ?
: อุเบกขา คืออะไร (บ้าง) สำคัญอย่างไร ในกรณีใด ?


ความเพียรเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากการที่สัมมาวายามะเป็นองค์มรรคประจำข้อ ๑ ใน ๓ ข้อ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ซึ่งต้องคอยช่วยหนุนองค์มรรคข้ออื่นๆ ทุกข้อเสมอไป...
...ในคำจำกัดความและความหมายทั้งหมดนี้ พึงสังเกตความสำคัญของ ฉันทะ ที่เป็นตัวนำของสัมมาวายามะ และเป็นสาระหลักของความเพียรทั้งหมด  ...

...สติเปรียบเหมือนเครื่องยึดตรึงเรือและคน ให้อยู่ตรงที่กับต้นไม้ เรือหรือคนที่หยุดอยู่ตรงที่ เปรียบเหมือนจิต มือที่จับกิ่งก้านต้นไม้ให้อยู่ในอาการที่จะทำงานได้เหมาะเปรียบเหมือนโยนิโสมนสิการ อีกมือหนึ่งที่เอามีดหรือเครื่องมืออื่นทำงานเกี่ยวตัด เปรียบได้กับปัญญา...

สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อที่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึกอบรมพัฒนาจิตในขั้นเต็มกระบวน เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน เป็นจุดบรรจบ หรือเป็นสนามรวมของการปฏิบัติ ...

(พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 789-90, 813, 814)

สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

Mobirise

ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างจิตภาวนากับปัญญาภาวนา"
(ฟังไฟล์เสียงจากเว็บไซต์วัดญาณฯ)  หรือ  (ฟังจากยูทูป) 

90 นาที

00.00   จิต กับ ปัญญา
17.06       ระบบการพัฒนาชีวิตแบบองค์รวม ในชีวิตประจำวัน
31.35       ความสัมพันธ์ของจิตภาวนา และปัญญาภาวนา ในการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป

44.11   สรุปองค์รวมของระบบไตรสิกขา
44.40       1. ความสัมพันธ์แบบส่งทอดกันเป็นขั้นเป็นตอน
46.28       2. ความสัมพันธ์ในเชิงบูรณาการ
48.27       ยกตัวอย่าง การพัฒนาในชีวิตประจำวัน

1.05.35  หลักการ ของจิตภาวนา (สมถกรรมฐาน) และปัญญาภาวนา (วิปัสสนากรรมฐาน)
1.08.05      1. สมถกรรมฐาน
1.12.00      2. วิปัสสนากรรมฐาน

1.14.00  หลักปฏิบัติ ของจิตภาวนา และปัญญาภาวนา
                    1. อารมณ์ของสมถกรรมฐาน : กรรมฐาน 40
1.17.33       2. อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน :  สติปัฎฐาน 4

1.19.32  สติเป็นพื้นฐานของ ทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

1.22.24  ผลสูงสุดของจิตภาวนา (สมถกรรมฐาน) และปัญญาภาวนา (วิปัสสนากรรมฐาน)

Mobirise

อ่าน หนังสือพุทธธรรมออนไลน์ บทที่ 16 
หรือ ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม  ในหัวข้อต่อไปนี้

24 หน้า

Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง "อธิจิตตสิกขา"

102 นาที

ช่วงที่ 1  สัมมาวายามะ  (26 นาที)
ช่วงที่ 2  สัมมาสติ  (39 นาที)
ช่วงที่ 3  สัมมาสมาธิ  (37 นาที)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 8)

Mobirise

ฝึกปฏิบัติเจริญสติ ประกอบการฟังธรรมบรรยาย
โดยพระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)

60 นาที

คลิปที่ 1  (สำหรับผู้เริ่มต้น)   ขั้นตอนการเจริญกรรมฐาน (เบื้องต้น)  (52 นาที)
คลิปที 2  (สำหรับผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน)  กรรมฐาน 3 รูปแบบ  (53 นาที)

Mobirise

ฝึกเจริญกรรมฐาน เป็นประจำทุกวัน ตามกำลังของตน

ฟังธรรมบรรยาย โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เรื่อง​ "การฝึกสติในชีวิตประจำวัน"    (29 นาที)   หรือ ​ "เวลาและสถานที่เหมาะกับการปฏิบัติธรรม"  (33 นาที)


Mobirise

การเรียนรู้เชิงลึก (optional)

แบบฝึกหัด

1

คำถาม พื้นฐาน

1.1 สติ กับ สมาธิ ทำงานร่วมกันอย่างไร

1.2 สติ สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร

1.3 วิธีการเลือกกรรมฐานที่เหมาะ ทำอย่างไร

1.4 พรหมวิหาร กับ อัปมัญญา ต่างกันอย่างไร

1.5 เมตตา กับเสน่หา ต่างกันอย่างไร


2

คำถาม ประยุกต์

2.1 การปฏิบัติธรรม คือทำอะไร

2.2 การเจริญสติ อย่างไรเป็นสมถะ อย่างไรเป็นวิปัสสนา

2.3 การแผ่เมตตา เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร
2.4 อุเบกขา คืออะไร (บ้าง) สำคัญอย่างไร ในกรณีใด

3

แบบฝึกหัด ชวนสังเกต

3.1 กรรมฐานใด ที่เหมาะกับจริตของตน

3.2 เรายินดีในที่สงัด มีความสุขในการปฏิบัติธรรมอยู่หรือไม่
3.3 คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่

3.4 นิวรณ์ใดเป็นอุปสรรคมากที่สุด มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร


ส่งแบบฝึกหัด  (optional)

หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร
สามารถกรอกข้อความต่อไปนี้ ให้ครบถ้วน แล้วกด "ส่งคำตอบ"

This page was designed with Mobirise